บันทึกหลังสอน การพบกลุ่ม
|
กศน.ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง
|
ครั้งที่ : ๘ วันที่ : ๕ กรกฎาคม
๒๕๕๘ ผู้สอน : นายสมพงษ์ เรือนนะการ
|
สถานที่พบกลุ่ม
: กศน.ตำบลกล้วยแพะ
๘๕/๑ หมู่ ๑ บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง
|
ระดับ
: ประถม ม.ต้น
ม.ปลาย หลักสูตร กศน.๒๕๕๑
|
สาระ: ความรู้พื้นฐาน รายวิชา : วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา : พว ๑๑๐๐๑,พว ๒๑๐๐๑, พว ๓๑๐๐๑ ระดับ
ประถม ม.ต้น ม.ปลาย
|
จำนวนผู้เรียน: ประถม
จำนวน ๓ คน ม.ต้น จำนวน ๑๔
คน ม.ปลาย จำนวน
๑๕ คน รวม ๓๒
คน
|
ไม่พบกลุ่ม: ประถม จำนวน
๖ คน ม.ต้น จำนวน
๙ คน ม.ปลาย จำนวน
๑๖ คน
รวม ๓๑ คน
|
เนื้อหาสาระ/รายวิชา เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
|
กิจกรรมการเรียนการสอน
-
ชั่วโมงโฮมรูม เปิด You
Tube เกี่ยวกับ เรื่อง ธรรมะสอนใจ ของพระมหาสมปอง และการแจ้งกิจกรรมงานพัฒนาผู้เรียน
และกิจกรรมงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน(กพช.)
-
วิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา
พว ๑๑๐๐๑,พว ๒๑๐๐๑, พว ๓๑๐๐๑ ระดับ
ประถม ม.ต้น ม.ปลาย
เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
นำเข้าสู่บทเรียน โดยการทักทายผู้เรียน
ละชวนคุยเกี่ยวกับเรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆ
โดยยกตัวอย่างจากสื่อทางอินเทอร์เนต เพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์
วิพากษ์วิจารณ์ อย่างสร้างสรรค์
- ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ในการรับชมรายการใน You Tube เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ และศึกษาใบความรู้ที่แจกให้
- ครูแจกกระดาษคำตอบพร้อมแบบทดสอบก่อนเรียน ให้นักศึกษาทำ จำนวน
๕ ข้อ ในเรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
-ครูแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าว่าหลังรับชมรายการใน You Tube เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
แล้วจะมีการทดสอบหลังเรียน
การดำเนินงานระหว่างชม ครูสังเกตนักศึกษาจากแบบสังเกต
-
สังเกตเรื่อง การตรงต่อเวลา การตั้งใจรับชมรายการ ความสนใจใฝ่รู้ในการเรียน การจดบันทึกในเอกสาร การรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม การช่างซักถาม สร้างบรรยากาศในห้องเรียน มีการสนทนา มีการทำแบบประเมิน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ความเข้าใจในเนื้อหา
-
นำผลการสังเกตไปใช้ประโยชน์คือ การวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
การดำเนินการหลังรับชมรายการ ใน You Tube เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
-
มีการทบทวนหรือให้ความรู้เพิ่มเติม
-
ดำเนินการทดสอบหลังเรียน
-
มอบหมายกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ การทำใบงาน แบบฝึกหัด
การทำรายงาน การระดมความคิดเห็น
โดยใช้เครื่องมือ My mapping
- ตรวจกิจกรรมที่มอบหมายให้นักศึกษาดำเนินการ
|
-
การวัดประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียน
ปัญหา/อุปสรรคการเรียนการสอน
๑.ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะนักศึกษาใหม่
ยังไม่เคยทำโครงงาน จึงรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ปฎิบัติยาก
๒.ผู้เรียนยังมีการศึกษาเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์น้อย
๓.ผู้เรียนบางคนไม่มีเวลามาพบกลุ่ม เนื่องจากวันอาทิตย์ไปช่วยงานศพในชุมชน
แนวทางการแก้ปัญหา
๑.ครูจัดการสอนเสริมเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฎิบัติการ
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๒.ครูให้นักศึกษาทำรายงาน
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น จากตำราวิชาวิทยาศาสตร์ จากทางเว๊บไซต์ เป็นต้น
๓.
ติดต่อนักศึกษาที่ไม่สามารถมาได้ นัดเอาใบงานหรืองานที่มอบหมายในสัปดาห์นี้
|
ลงชื่อ.............................................
(นายสมพงษ์ เรือนนะการ)
ครูศูนย์การเรียนชุมชน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น