วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน 17 ส.ค. 58

บันทึกประจำวัน    วันที่  17 สิงหาคม  2558
- เข้าร่วมประชุมการติดตามความพร้อมรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง  ปีงบประมาณ 2558  ณ ห้องประชุม กศน.อำเภอเมืองลำปาง  โดยมีท่านผอ.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ประธานการประชุม  โดยท่านผอ.แนะแนวทางการเตรียมงานแต่ละด้าน ให้ศึกษาตัวบ่งชี้ให้ชัดเจนสอดคล้องกับหลักฐาน เอกสารอ้างอิง  อะไรไม่เกี่ยวข้องหรือไม่สอดคล้องอย่านำมาอ้างอิง  ช่วงแรกมีการตรวจสอบเนื้อหาภาพรวมของแต่ละด้านโดยการตรวจไขว้ระหว่างด้านแต่ละด้าน    จากนั้นก็ให้ตัวแทนทีมงานรายงาน  การประเมินแต่ละด้าน  จำนวน 5  ด้าน  18  องค์ประกอบ  62  ตัวบ่งชี้  เริ่มต้นที่ด้านที่ 1  ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา  5 องค์ประกอบที่   ( องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย ,องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ ,องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ,องค์ประกอบที่ 4,อาคารสถานที่/แหล่งเรียนรู้ ,องค์ประกอบที่ 5 ความสัมพันธ์กับชุมชน)  โดยมีครูสุมลมาลย์  ครูรุ้งดาว, ครูจอย   เมื่อนำเสนอเสร็จแต่ละองค์ประกอบ  ให้ครูทุกคนมีส่วนร่วม ในการปรับ/แก้ไข เพิ่มเติม ได้   นอกจากนี้ยังมีด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้    จำนวน  4 องค์ประกอบ  ประกอบด้วย องค์ประกอบ 1 หน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  , องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ,องค์ประกอบ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ,องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ตัวแทนทีมงานที่นำเสนอ คือ ครูรพีพรรณ  ด้านนี้ครูแหม่ม(สายฝน)ได้คอมเม้นต์ ให้ปรับแก้เอกสารอ้างอิงองค์ประกอบที่ 2 จากโครงการเป็นรายงานสรุป บางตัวบ่งชี้     ต่อมาตัวแทนด้านที่ 3คุณครูพิรุณ  นำเสนอเกี่ยวกับด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  3 องค์ประกอบ  ประกอบด้วย  องค์ประกอบ 1 การแนะแนวและระบบดุแลช่วยเหลือผู้เรียน ,     องค์ประกอบ 2 กิจกรรมนักเรียน  ,   องค์ประกอบ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์    ครุพิรุณ  ก็ขอความร่วมมือจากครูทุกคน นำหลักฐานเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบ  จากนั้น อ.ยุรัยยา ได้มาทบทวนและตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานเอกสารทั้ง 3 ด้าน  12 ตัวบ่งชี้ โดยภาพรวม โดยย้ำว่าทุกด้านต้องมีความสอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-ช่วงเย็น : ปรับแก้ไข โครงการ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.)วันแม่   และจัดทำป้ายนิเทศ พืชผักเศรษฐกิจพอเพียง

บันทึกประจำวัน 21 ส.ค. 58

บันทึกประจำวัน  วันที่ 21สิงหาคม 2558
- ช่วงเช้า : ไปรับนักศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเข้าร่วมงานประเมินสถานศึกษาพอเพียง   จำนวน  3 คน ได้แก่ 1.นางเพ็ญแข  ชาญกิจ  รหัส 5612-00176-8 นักศึกษาระดับ  ม.ต้น  ร่วมงานด้านการสาธิต อาชีพ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์และเศษอาหาร     2. นายศรัณยู   ต๊ะตุ้ย  รหัส5623-00168-3 นักศึกษาระดับม.ปลาย และนางสาวน้ำฝน  ณ  เรือนงาม รหัส 5811-00001-8 นักศึกษาระดับประถม ร่วมงานด้านการรับการสัมภาษณ์การประเมินด้านผู้เรียนจากกรรมการ  มาตรฐานที่๔-๕ 
-ต้อนรับผอ.กศน.จังหวัดลำปาง นายคะเชนท์  มะโนใจ ที่ได้มาเยี่ยมชมสวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง และอธิบายกระบวนการเพาะต้นทานตะวันอ่อนที่ได้นำมาแสดงในงานการประเมินครั้งนี้ด้วย  และรับคำแนะนำเรื่องอาชีพเพาะเห็ดให้แก่ครูกศน.ตำบลควรนำไปต่อยอดในการนำความรู้ที่ได้ไปทำที่กศน.ตำบลตัวเอง เช่น การเพาะเห็ดของกศน.ตำบลปงแสนทองและกศน.ตำบลบ้านแลง ซึ่งเป็นอาชีพที่ใช้วัสดุในท้องถิ่นและมีต้นทุนการผลิตต่ำได้ราคาดี  เช่นฟางข้าว  ตระกร้าเพาะเห็ด เป็นต้น
-ต้อนรับคณะกรรมการประเมินสถานศึกษาพอเพียง  บริเวณหน้าสวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง และแนะนำตนเองและนักศึกษา นางเพ็ญแข  ชาญกิจ ที่มาสาธิตอาชีพการทำปุ๋ยหมักชีวภาพมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์และเศษอาหาร
-เข้าห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง  เพื่อรับการประเมินสถานสถานศึกษาพอเพียง ด้านระบบเอกสาร  เช่น องค์ประกอบ  ตัวบ่งชี้ ในแต่ละด้าน จากคณะกรรมการสถานศึกษาพอเพียง
- แนะนำตัวและรับผิดชอบด้านที่ ๕ ด้านผลลัพท์ /ภาพความสำเร็จ  องค์ประกอบที่ ๔ ด้านผู้เรียน (ตัวบ่งชี้ที่๔.๓และ๔.๔  โดยจัดเอกสารตามที่กรรมการขอดู
- ช่วงบ่าย  :   จัดเก็บวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน บริเวณสวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง จนเสร็จเรียบร้อย

บันทึกประจำวัน 19 ส.ค. 58

บันทึกประจำวัน  วันที่ 19 สิงหาคม 2558 
ช่วงเช้า :  จัดเอกสารข้อมูลด้านที่ 5 องค์ประกอบที่ 4 ด้านผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 4.3 - 4.4 โดยสรุปเอกสารและหลักฐานตามตัวบ่งชี้ดังกล่าว  ให้สอดคล้องกับ 3 ห่วง  2 เงื่อนไข (พอประมาณ   ความมีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน  เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม
ช่วงบ่าย  :  จัดทำป้ายชื่อพืชผักเศรษฐกิจ  จำนวน  10 กว่ารายการ นำไปติดตั้งตามพืชผักแต่ละชนิด  ณ สวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง  
 - ไปขนวัสดุอุปกรณ์ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง    เช่น  ชุดดอกไม้ประดับ   โซฟา   รวมถึงไม้ไฝ่ เพื่อใช้ในการตกแต่ง ที่ สวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง
ช่วงค่ำ  : จัดทำป้ายชื่อพืชผักเศรษฐกิจ  จำนวน  10 กว่ารายการ นำไปติดตั้งตามพืชผักแต่ละชนิด  ณ สวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง  (ต่อ) และทำเอกสารข้อมูลด้านที่ 5 องค์ประกอบที่ 4 ด้านผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 4.3 - 4.4 โดยสรุปเอกสารและหลักฐานตามตัวบ่งชี้ดังกล่าว  ให้สอดคล้องกับ 3 ห่วง  2 เงื่อนไข (พอประมาณ   ความมีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน  เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม(ต่อ)



บันทึกประจำวัน 20 ส.ค. 58

บันทึกประจำวัน  วันที่ 20 สิงหาคม 2558
ช่วงเช้า : เขียนข้อความสรุปเศรษฐกิจพอเพียงของตำบล ที่เกี่ยวกับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  (พอประมาณ  มีเหตุผล   มีภูมิคุ้มกัน   เงื่อนไขความรู้และคุณธรรม  ส่งเป็นไพล์ ทั้งภาพและข้อมูล เพื่อให้ร้านดำเนินการทำบอร์ดเผยแพร่ ณ  กศน.อำเภอเมืองลำปาง
- ท่านผอ .ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ติดตามงานข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละตำบล โดยเน้นความชัดเจนในเนื้อหา 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ให้มีความสอดคล้องกับภารกิจงานกศน.ตำบลให้รีบส่งวันนี้ช่วงเช้า เพื่อจัดส่งให้ร้านดำเนินการต่อไป
ช่วงบ่าย : ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่  ณ สวนเศรษฐกิจพอเพียงกศน.อำเภอเมืองลำปาง  ได้แก่  จัดทำซุ้มการแสดง/สาธิตสินค้าอุปโภค/บริโภค ที่ผลิตในท้องถิ่น เช่น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์และเศษอาหาร   การปั้นหม้อ   การเพาะเห็ดโคนและเห็ดนางฟ้า   การผลิตหมวกคาวบอยจากวัสดุยางพารา   การทำโคมไฟล้านนา    ฯลฯ เป็นต้น  
ช่วยเพื่อนร่วมงาน :  ทำบอร์ดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในห้องปฎิบัติการฯครู       จัดเก็บโต๊ะชุดถวายพระพรชัยมงคลวันแม่      ติดบอร์ดภาพประชาสัมพันธ์พระราชดำรัสในหลวงเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  ณ สวนเศรษฐกิจพอเพียง    ทำความสะอาด/ดายหญ้า บริเวณสวนฯ      ช่วยจัดเตรียมโต๊ะหมู่บูชา ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง     ช่วยตกแต่งป้ายสวนเศรษฐกิจพอเพียง    ตรวจสอบความพร้อมด้านเอกสารตามองค์ประกอบ   ตัวบ่งชี้ ในด้านที่ 5

บันทึกประจำวัน 18 ส.ค 58

บันทึกประจำวัน  วันที่ 18 สิงหาคม 2558
-  จัดเอกสาร/หลักฐานตามตัวบ่งชี้ 4.3-4.4 องค์ประกอบที่ 4  ด้านที่ 5
   ตัวบ่งชี้ ที่ 4.3  ผู้เรียนปฎิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม
กศน.อำเภอเมืองลำปาง  ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน  รู้จักช่วยเหลือสังคม  หรือชุมชน  มีจิตสาธารณะ  มีความสามัคคี  ความเสียสละ  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านต่างๆ  โดยมีร่องรอย/หลักฐานดังนี้  1.  โครงการอาสายุวกาชาดหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด  ปี  2557  
                  - เอกสารหมายเลข...5.4.3........(กล่องที่..19....)    ตู้ที่ 4
       ๒.  เข้าค่ายพักแรมลูกเสือวิสามัญ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง ปี 2557
                   - เอกสารหมายเลข.....5.4.3.....(กล่องที่..19....)     ตู้ที่ 4
       ๓.  โครงการพัฒนา กศน.ตำบล
                   - เอกสารหมายเลข..... 5.4.3.....(แฟ้ม กพชที่ 4....) ตู้ที่ 4
       ๔. โครงการบริจาคโลหิต               
                   - เอกสารหมายเลข..... 5.4.3.....(แฟ้ม กพชที่ 3....) ตู้ที่ 4
     ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๔ ผู้เรียนปฎิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
กศน.อำเภอเมืองลำปาง  ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจของการพัฒนาตนเอง  เห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากร  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม   โดยมีร่องรอย/หลักฐานดังนี้  
       ๑.รายงานสรุปโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำฝายชะลอน้ำ  ม.5 บ้านดง  ต.บ้านแลง  ปี 2558
                  - เอกสารหมายเลข...5.4.4....(กล่องที่..20....)   ตู้ที่ 4
       ๒. รายงานสรุปโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ป่าชุมชน  ปี2557
                  - เอกสารหมายเลข...5.4.4....(กล่องที่..20....)   ตู้ที่ 4
       ๓. รายงานสรุปโครงการปลอดภัยห่างไกลไข้เลือดออก  ปี 2557
                   - เอกสารหมายเลข...5.4.4....(กล่องที่..20....)  ตู้ที่ 4
       ๔. รายงานสรุปโครงการส่งเสริมอาสาสมัครอนุรักษ์ป่าชุมชน  ปี 2558
                   - เอกสารหมายเลข...5.4.4....(กล่องที่..20....)  ตู้ที่ 4
       ๕. การทำสมุนไพรไล่แมลง  ต.บ่อแฮ้ว  ปี 2558 
                   - เอกสารหมายเลข...5.4.4....(กล่องที่..20....)  ตู้ที่ 4

บันทึกหลังสอน 26 ก.ค.58

บันทึกหลังสอน   การพบกลุ่ม
กศน.ตำบลกล้วยแพะ  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง
ครั้งที่  ๑๑                   วันที่  :  ๒๖  กรกฎาคม  ๒๕๕๘    ผู้สอน : นายสมพงษ์   เรือนนะการ
สถานที่พบกลุ่ม :    กศน.ตำบลกล้วยแพะ ๘๕/๑ หมู่ ๑ บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ  อ.เมือง  จ.ลำปาง                
ระดับ  ประถม    ม.ต้น   ม.ปลาย   หลักสูตร กศน.๒๕๕๑
สาระ:  ความรู้พื้นฐาน           รายวิชา : วิทยาศาสตร์   รหัสวิชา : พว ๑๑๐๐๑, พว ๒๑๐๐๑,  พว ๓๑๐๐๑  ระดับ   ประถม    ม.ต้น    ม.ปลาย
จำนวนผู้เรียน: ประถม  จำนวน  ๓  คน ม.ต้น จำนวน  ๑๗  คน    ม.ปลาย  จำนวน  ๒๐  คน   รวม ๔๐  คน
ไม่พบกลุ่มประถม  จำนวน  ๖  คน  ม.ต้น   จำนวน ๖  คน   ม.ปลาย  จำนวน  ๑๑    คน    รวม  ๒๓  คน
เนื้อหาสาระ/รายวิชา        เรื่อง    เทคโนโลยีชีวภาพ
กิจกรรมการเรียนการสอน
- ชั่วโมงโฮมรูม  เปิด You Tube เกี่ยวกับ เรื่อง ธรรมะสอนใจ  ของพระมหาสมปอง  และการแจ้งกิจกรรมงานพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน(กพช.)
- วิชา วิทยาศาสตร์      รหัสวิชา  พว ๑๑๐๐๑, พว ๒๑๐๐๑,  พว ๓๑๐๐๑ ระดับ ประถม  ม.ต้น  ม.ปลาย   เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
นำเข้าสู่บทเรียน  โดยการทักทายผู้เรียน ละชวนคุยเกี่ยวกับเรื่อง  เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพ   เช่น การตั้งคำถามว่า นักศึกษาคิดว่ามูลสัตว์สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานแก๊สชีวภาพได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ใครเห็นบ้าง จงบอกแหล่งที่มาให้เพื่อนได้รับทราบ    เพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น  วิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์ อย่างสร้างสรรค์
- ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ในการรับชมรายการใน You Tube เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพ และศึกษา ใบความรู้ที่แจกให้  
- ครูแจกกระดาษคำตอบพร้อมแบบทดสอบก่อนเรียน  ให้นักศึกษาทำ   จำนวน  ๕  ข้อ  ในเรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
-ครูแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าว่าหลังรับชมรายการใน You Tube เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ  แล้วจะมีการทดสอบหลังเรียน
การดำเนินงานระหว่างชม  ครูสังเกตนักศึกษาจากแบบสังเกต  
- สังเกตเรื่อง  การตรงต่อเวลา  การตั้งใจรับชมรายการ  ความสนใจใฝ่รู้ในการเรียน  การจดบันทึกในเอกสาร  การรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  การช่างซักถาม  สร้างบรรยากาศในห้องเรียน   มีการสนทนา   มีการทำแบบประเมิน   การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  ความเข้าใจในเนื้อหา
- นำผลการสังเกตไปใช้ประโยชน์คือ  การวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม    
การดำเนินการหลังรับชมรายการ    ใน You Tube   เรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพ
- มีการทบทวนหรือให้ความรู้เพิ่มเติม
- ดำเนินการทดสอบหลังเรียน
- มอบหมายกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  ได้แก่ การทำใบงาน   แบบฝึกหัด   การทำรายงาน   การระดมความคิดเห็น  โดยใช้เครื่องมือ My mapping
- ตรวจกิจกรรมที่มอบหมายให้นักศึกษาดำเนินการ
- การวัดประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียน

ปัญหา/อุปสรรคการเรียนการสอน
๑.นักศึกษายังมีความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพน้อย
๒.นักศึกษาหลายคนยังขาดความสนใจในเนื่องเทคโนโลยีชีวภาพ
๓.นักศึกษาบางคนมาพบกลุ่มน้อยมาก  เนื่องจากดูแลยายและครอบครัว
แนวทางการแก้ปัญหา
๑.ครูจัดการสอนเสริมเกี่ยวกับการอบรมเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ
๒.ครูควรนำเสนอสื่อเคลื่อนไหว ที่น่าสนใจ  และภาพนิ่งที่ชวนให้คิดและติดตาม
๓.ไปเยี่ยมบ้านนักศึกษาให้กำลังใจ  และให้ใบงานพร้อมงานที่มอบหมายอื่นๆด้วยตนเอง
              
                                        ลงชื่อ.............................................
                                               (นายสมพงษ์   เรือนนะการ)
                                                ครูศูนย์การเรียนชุมชน


บันทึกหลังสอน 19 ก.ค. 58

บันทึกหลังสอน   การพบกลุ่ม

กศน.ตำบลกล้วยแพะ  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง
ครั้งที่  :   ๑๐                      วันที่  :  ๑๙  กรกฎาคม  ๒๕๕๘    ผู้สอน : นายสมพงษ์   เรือนนะการ
สถานที่พบกลุ่ม :    กศน.ตำบลกล้วยแพะ ๘๕/๑ หมู่ ๑ บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ  อ.เมือง  จ.ลำปาง                
ระดับ  ประถม    ม.ต้น   ม.ปลาย   หลักสูตร กศน.๒๕๕๑
สาระ:  ความรู้พื้นฐาน           รายวิชา : วิทยาศาสตร์   รหัสวิชา : พว ๑๑๐๐๑, พว ๒๑๐๐๑,  พว ๓๑๐๐๑  ระดับ   ประถม    ม.ต้น    ม.ปลาย
จำนวนผู้เรียน: ประถม  จำนวน  ๓  คน ม.ต้น จำนวน  ๖  คน    ม.ปลาย  จำนวน  ๑๕  คน   รวม ๓๒  คน
ไม่พบกลุ่มประถม  จำนวน  ๔  คน  ม.ต้น จำนวน  ๑๑  คน   ม.ปลาย  จำนวน  ๑๖    คน    รวม ๓๑  คน
เนื้อหาสาระ/รายวิชา        เรื่อง   พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
กิจกรรมการเรียนการสอน
- ชั่วโมงโฮมรูม  เปิด You Tube เกี่ยวกับ เรื่อง ธรรมะสอนใจ  ของพระมหาสมปอง  และการแจ้งกิจกรรมงานพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน(กพช.)
- วิชา วิทยาศาสตร์      รหัสวิชา  พว ๑๑๐๐๑, พว ๒๑๐๐๑,  พว ๓๑๐๐๑ ระดับ ประถม  ม.ต้น  ม.ปลาย   เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
นำเข้าสู่บทเรียน  โดยการทักทายผู้เรียน ละชวนคุยเกี่ยวกับเรื่อง  พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ   เช่น การตั้งคำถามว่าทำไม คนเราหน้าตาไม่เหมือนกัน   เพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น  วิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์ อย่างสร้างสรรค์
- ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ในการรับชมรายการใน You Tube เรื่อง  พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ   และศึกษาใบความรู้ที่แจกให้
- ครูแจกกระดาษคำตอบพร้อมแบบทดสอบก่อนเรียน  ให้นักศึกษาทำ   จำนวน  ๕  ข้อ  ในเรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
-ครูแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าว่าหลังรับชมรายการใน You Tube เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ  แล้วจะมีการทดสอบหลังเรียน
การดำเนินงานระหว่างชม  ครูสังเกตนักศึกษาจากแบบสังเกต  
- สังเกตเรื่อง  การตรงต่อเวลา  การตั้งใจรับชมรายการ  ความสนใจใฝ่รู้ในการเรียน  การจดบันทึกในเอกสาร  การรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  การช่างซักถาม  สร้างบรรยากาศในห้องเรียน   มีการสนทนา   มีการทำแบบประเมิน   การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  ความเข้าใจในเนื้อหา
- นำผลการสังเกตไปใช้ประโยชน์คือ  การวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม    
การดำเนินการหลังรับชมรายการ   ใน You Tube เรื่อง  พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
- มีการทบทวนหรือให้ความรู้เพิ่มเติม
- ดำเนินการทดสอบหลังเรียน
- มอบหมายกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  ได้แก่ การทำใบงาน   แบบฝึกหัด   การทำรายงาน   การระดมความคิดเห็น  โดยใช้เครื่องมือ My mapping
- ตรวจกิจกรรมที่มอบหมายให้นักศึกษาดำเนินการ
- การวัดประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียน

ปัญหา/อุปสรรคการเรียนการสอน
๑.นักศึกษายังมีความเข้าใจในเรื่องพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพน้อย
๒.นักศึกษาหลายคนยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องพันธุกรรมได้
๓.นักศึกษาบางคนไม่มีเวลามาพบกลุ่ม  เนื่องจากวันอาทิตย์ไปทำธุระที่ต่างจังหวัด
แนวทางการแก้ปัญหา
๑.ครูจัดการสอนเสริมเกี่ยวกับการอบรมเรื่องพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
๒.ครูให้นักศึกษาทำรายงาน เกี่ยวกับความแตกต่างของลักษณะกรรมพันธ์ของคนเรา  จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น จากตำราวิชาวิทยาศาสตร์    จากทางเว๊บไซต์  เป็นต้น
๓.ติดต่อนักศึกษาที่ไม่สามารถมาได้ นัดเอาใบงานหรืองานที่มอบหมายในสัปดาห์นี้หรือฝากเพื่อนไปให้  
              
                                        ลงชื่อ.............................................
                                               (นายสมพงษ์   เรือนนะการ)
                                                ครูศูนย์การเรียนชุมชน


บันทึกหลังสอน 12 ก.ค. 58

บันทึกหลังสอน   การพบกลุ่ม

กศน.ตำบลกล้วยแพะ  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง
ครั้งที่                               วันที่  :  ๑๒  กรกฎาคม  ๒๕๕๘    ผู้สอน : นายสมพงษ์   เรือนนะการ
สถานที่พบกลุ่ม :    กศน.ตำบลกล้วยแพะ ๘๕/๑ หมู่ ๑ บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ  อ.เมือง  จ.ลำปาง                
ระดับ  ประถม    ม.ต้น   ม.ปลาย   หลักสูตร กศน.๒๕๕๑
สาระ:  ความรู้พื้นฐาน           รายวิชา : วิทยาศาสตร์   รหัสวิชา พว ๑๑๐๐๑,พว ๒๑๐๐๑, พว ๓๑๐๐๑ ระดับ   ประถม    ม.ต้น    ม.ปลาย
จำนวนผู้เรียน: ประถม  จำนวน  ๓  คน ม.ต้น จำนวน  ๑๗  คน    ม.ปลาย  จำนวน  ๑๓ คน   รวม ๓๓  คน
ไม่พบกลุ่มประถม  จำนวน  ๖  คน  ม.ต้น  จำนวน  ๖  คน   ม.ปลาย  จำนวน  ๑๘  คน    รวม  ๓๐  คน
เนื้อหาสาระ/รายวิชา        เรื่อง    เซลส์
กิจกรรมการเรียนการสอน
- ชั่วโมงโฮมรูม  เปิด You Tube เกี่ยวกับ เรื่อง ธรรมะสอนใจ  ของพระมหาสมปอง  และการแจ้งกิจกรรมงานพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน(กพช.)
- วิชา วิทยาศาสตร์     รหัสวิชา พว ๑๑๐๐๑,พว ๒๑๐๐๑, พว ๓๑๐๐๑   ระดับ ประถม  ม.ต้น  ม.ปลาย   เรื่อง  เซลส์
นำเข้าสู่บทเรียน  โดยการทักทายผู้เรียน ละชวนคุยเกี่ยวกับเรื่อง  เซลส์   และตั้งคำถามว่า การตรวจ DNAนักศึกษาเคยได้ยินไหมจากข่าวที่ได้ยินและได้เห็นจากสื่อต่างๆ  นักศึกษาเข้าใจอย่างไรบ้าง   เพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น  วิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์ อย่างสร้างสรรค์
- ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ในการรับชมรายการใน You Tube เรื่อง เซลส์  และศึกษาใบความรู้ที่แจกให้
- ครูแจกกระดาษคำตอบพร้อมแบบทดสอบก่อนเรียน  ให้นักศึกษาทำ   จำนวน  ๕  ข้อ  ในเรื่อง  เซลส์
-ครูแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าว่าหลังรับชมรายการใน You Tube เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์ แล้วจะมีการทดสอบหลังเรียน
การดำเนินงานระหว่างชม  ครูสังเกตนักศึกษาจากแบบสังเกต  
- สังเกตเรื่อง  การตรงต่อเวลา  การตั้งใจรับชมรายการ  ความสนใจใฝ่รู้ในการเรียน  การจดบันทึกในเอกสาร  การรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  การช่างซักถาม  สร้างบรรยากาศในห้องเรียน   มีการสนทนา   มีการทำแบบประเมิน   การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  ความเข้าใจในเนื้อหา
- นำผลการสังเกตไปใช้ประโยชน์คือ  การวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม    
การดำเนินการหลังรับชมรายการ   ใน You Tube เรื่อง  เซลส์
- มีการทบทวนหรือให้ความรู้เพิ่มเติม
- ดำเนินการทดสอบหลังเรียน
- มอบหมายกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  ได้แก่ การทำใบงาน   แบบฝึกหัด   การทำรายงาน   การระดมความคิดเห็น  โดยใช้เครื่องมือ My mapping
- ตรวจกิจกรรมที่มอบหมายให้นักศึกษาดำเนินการ
- การวัดประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียน


ปัญหา/อุปสรรคการเรียนการสอน
. นักศึกษายังมีความเข้าใจในเรื่องเซลล์น้อย
. นักศึกษาหลายคนยังจำศัพท์เซลล์ต่างของพืชและสัตว์ไม่ค่อยได้
. นักศึกษาบางคนไม่มีเวลามาพบกลุ่ม  เนื่องจากวันอาทิตย์ไปงานแต่งงานญาติ
แนวทางการแก้ปัญหา
๑.ครูจัดการสอนเสริมเกี่ยวกับการอบรมเรื่องเซลล์
๒.ครูให้นักศึกษาทำรายงาน เกี่ยวกับคำศัพท์เรื่องเซลล์ทั้งพืชและสัตว์  จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น จาก$ ตำราวิชาวิทยาศาสตร์    จากทางเว๊บไซต์  เป็นต้น
๓.ติดต่อนักศึกษาที่ไม่สามารถมาได้ นัดเอาใบงานหรืองานที่มอบหมายในสัปดาห์นี้หรือฝากเพื่อนไปให้  

              
                                        ลงชื่อ.............................................
                                               (นายสมพงษ์   เรือนนะการ)
                                                ครูศูนย์การเรียนชุมชน


บันทึกหลังสอน 5 ก.ค.58

บันทึกหลังสอน   การพบกลุ่ม

กศน.ตำบลกล้วยแพะ  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง
ครั้งที่  :                          วันที่  :  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๕๘    ผู้สอน : นายสมพงษ์   เรือนนะการ
สถานที่พบกลุ่ม :    กศน.ตำบลกล้วยแพะ ๘๕/๑ หมู่ ๑ บ้านกล้วยหลวง ต.กล้วยแพะ  อ.เมือง  จ.ลำปาง                
ระดับ  ประถม    ม.ต้น   ม.ปลาย   หลักสูตร กศน.๒๕๕๑
สาระ:  ความรู้พื้นฐาน           รายวิชา : วิทยาศาสตร์   รหัสวิชา พว ๑๑๐๐๑,พว ๒๑๐๐๑, พว ๓๑๐๐๑  ระดับ   ประถม    ม.ต้น    ม.ปลาย
จำนวนผู้เรียน: ประถม  จำนวน  ๓  คน ม.ต้น จำนวน  ๑๔  คน    ม.ปลาย  จำนวน  ๑๕  คน  รวม  ๓๒  คน
ไม่พบกลุ่มประถม  จำนวน  ๖  คน  ม.ต้น จำนวน  ๙  คน   ม.ปลาย  จำนวน  ๑๖    คน   รวม  ๓๑  คน
เนื้อหาสาระ/รายวิชา        เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์  
กิจกรรมการเรียนการสอน
- ชั่วโมงโฮมรูม  เปิด You Tube เกี่ยวกับ เรื่อง ธรรมะสอนใจ  ของพระมหาสมปอง  และการแจ้งกิจกรรมงานพัฒนาผู้เรียน และกิจกรรมงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน(กพช.)
- วิชา วิทยาศาสตร์      รหัสวิชา   พว ๑๑๐๐๑,พว ๒๑๐๐๑, พว ๓๑๐๐๑      ระดับ ประถม  ม.ต้น  ม.ปลาย   เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
นำเข้าสู่บทเรียน  โดยการทักทายผู้เรียน ละชวนคุยเกี่ยวกับเรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์   เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่างๆ โดยยกตัวอย่างจากสื่อทางอินเทอร์เนต เพื่อให้ผู้เรียนร่วมแสดงความคิดเห็น  วิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์ อย่างสร้างสรรค์
- ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ในการรับชมรายการใน You Tube เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์ และศึกษาใบความรู้ที่แจกให้
- ครูแจกกระดาษคำตอบพร้อมแบบทดสอบก่อนเรียน  ให้นักศึกษาทำ   จำนวน  ๕  ข้อ  ในเรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์
-ครูแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าว่าหลังรับชมรายการใน You Tube เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์ แล้วจะมีการทดสอบหลังเรียน
การดำเนินงานระหว่างชม  ครูสังเกตนักศึกษาจากแบบสังเกต  
- สังเกตเรื่อง  การตรงต่อเวลา  การตั้งใจรับชมรายการ  ความสนใจใฝ่รู้ในการเรียน  การจดบันทึกในเอกสาร  การรู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  การช่างซักถาม  สร้างบรรยากาศในห้องเรียน   มีการสนทนา   มีการทำแบบประเมิน   การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  ความเข้าใจในเนื้อหา
- นำผลการสังเกตไปใช้ประโยชน์คือ  การวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม    
การดำเนินการหลังรับชมรายการ   ใน You Tube เรื่อง  โครงงานวิทยาศาสตร์
- มีการทบทวนหรือให้ความรู้เพิ่มเติม
- ดำเนินการทดสอบหลังเรียน
- มอบหมายกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้  ได้แก่ การทำใบงาน   แบบฝึกหัด   การทำรายงาน   การระดมความคิดเห็น  โดยใช้เครื่องมือ My mapping
- ตรวจกิจกรรมที่มอบหมายให้นักศึกษาดำเนินการ

- การวัดประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียน
ปัญหา/อุปสรรคการเรียนการสอน
.ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะนักศึกษาใหม่  ยังไม่เคยทำโครงงาน จึงรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ปฎิบัติยาก
.ผู้เรียนยังมีการศึกษาเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์น้อย
๓.ผู้เรียนบางคนไม่มีเวลามาพบกลุ่ม  เนื่องจากวันอาทิตย์ไปช่วยงานศพในชุมชน
แนวทางการแก้ปัญหา
๑.ครูจัดการสอนเสริมเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฎิบัติการ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๒.ครูให้นักศึกษาทำรายงาน การทำโครงงานวิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น จากตำราวิชาวิทยาศาสตร์    จากทางเว๊บไซต์  เป็นต้น
๓. ติดต่อนักศึกษาที่ไม่สามารถมาได้ นัดเอาใบงานหรืองานที่มอบหมายในสัปดาห์นี้  
              
                                        ลงชื่อ.............................................
                                               (นายสมพงษ์   เรือนนะการ)
                                                ครูศูนย์การเรียนชุมชน